วันอังคารที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2559

ธาตุและสมบัติบางประการของธาตุ

ธาตุและสมบัติบางประการของธาตุ






ธาตุ (Element)  

            ธาตุ หมายถึง  สารบริสุทธิ์เนื้อเดียวที่มีองค์ประกอบอะตอมของธาตุเพียงชนิดเดียวเท่านั้น  ธาตุไม่สามารถจะนำมาแยกสลายให้กลายเป็นสารอื่นโดยวิธีการทางเคมี  แต่อาจแยกออกโดยวิธีนิวเคลียร์  

วันจันทร์ที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2559

สารเพื่อชีวิต


สมบัติของสาร การแยกสาร สารในชีวิตประจำวัน การเลือกซื้อและการเลือกใช้ได้อย่างถูกต้องเหมาะสมและปลอดภัย
 ปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ

เมฆ คือ เมฆเกิดจากการรวมตัวหรือเกาะกลุ่มของไอนำในที่สุดก็จะเกิดการควบแน่นและตกลงมาเป็นฝน ละอองน้ำและเกล็ดน้ำแข็งที่รวมตัวกันเป็นกลุ่มก้อนลอยตัวอยู่ในชั้นบรรยากาศ ที่เราสามารถมองเห็นได้
ไอน้ำที่ควบแน่น เป็นละอองน้ำ (โดยปกติแล้วจะมีขนาด 0.01 มม) หรือ เป็นเกล็ดน้ำแข็ง ซึ่งเมื่อเกาะตัวกันเป็นกลุ่มจะเห็นเป็นก้อนเมฆ ก้อนเมฆนี้สะท้อนคลื่นแสงในแต่ละความยาวคลื่นในช่วงที่ตามองเห็นได้ ในระดับที่เท่า ๆ กัน จึงทำให้เรามองเห็นก้อนเมฆนั้นเป็นสีขาว แต่ก็สามารถมองเห็นเป็นสีเทาหรือสีดำ ถ้าหากเมฆนั้นมีความหนาแน่นสูงมากจนแสงผ่านไม่ได้เมฆบนดาวดวงอื่นนั้นประกอบด้วยสารอื่นนอกจากน้ำ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาพบรรยากาศของดาวนั้น (เช่นว่า มีก๊าซอะไรอยู่ และ ระดับอุณหภูมิ)

แบ่งตามรูปร่างของเมฆ
 รูปแบบต่างๆของเมฆ
เมฆนั้นแบ่งเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆคือ แบบเป็นชั้น (layered) ในแนวนอน และ แบบลอยตัวสูงขึ้น (convective) ในแนวตั้ง, โดยจะมีชื่อเรียกว่า สตราตัส (stratus ซึ่งหมายถึงลักษณะเป็นชั้น) และ คิวมูลัส (cumulus ซึ่งหมายถึงทับถมกันเป็นกอง) ตามลำดับ
นอกจากนี้แล้วยังมีคำที่ใช้ในการบอกลักษณะของเมฆ
•         สตราตัส (stratus) หมายถึง ลักษณะเป็นชั้น
•         คิวมูลัส (cumulus) หมายถึง ลักษณะเป็นกองสุม
•         ซีร์รัส (cirrus) หมายถึง เมฆชั้นสูง
•         อัลโต (alto) หมายถึง เมฆชั้นกลาง
•         นิมบัส (nimbus) หมายถึง ฝน


สิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม

สิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม

สิ่งมีชีวิต ระบบนิเวศ ทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อมและการอนุรักษ์ ปรากฏการณ์ทางธรรมชาติระบบนิเวศและนิเวศวิทยา
นิเวศวิทยา
           การศึกษาที่เกี่ยวกับนิเวศวิทยา(Ecology) และระบบนิเวศ (Ecosystem) มีขึ้นนับพันปีมาแล้ว  ตั้งแต่ในสมัยกรีก โดย อริสโตเติล(Aristotle) ได้ศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมของสัตว์ตามลักษณะที่อยู่อาศัย และต่อมาก็ได้มีผู้ศึกษาการเจริญเติบโตของพืชที่สัมพันธ์กับสภาพดินฟ้าอากาศ จากนั้นแนวการศึกษาได้ขยายกว้างออกไปยิ่งขึ้น เป็นการศึกษาที่เกี่ยวกับประชากรที่สัมพันธ์กับอาหารที่ผลิตได้ โดยบุคคลสำคัญที่ศึกษาเรื่องดังกล่าว ได้แก่ โทมัส มัลทัส (Thomas Malthus) และชาร์ล ดาวิน(Charle Darwin) ภายหลังจากปี  พ.ศ.2500 เป็นต้นมา  เมื่อมีการศึกษาผลกระทบของการใช้ยาฆ่าแมลงที่มีต่อสิ่งมีชีวิตในสิ่งแวดล้อมและต่อมนุษย์ ทำให้มีการตื่นตัวในการศึกษาปัญหาเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม และทำให้นิเวศวิทยาได้รับความสนใจกว้างขวางยิ่งขึ้น (วินัย วีระวัฒนานนท์. 2540)

กระบวนการทางวิทยาศาสตร์

กระบวนการทางวิทยาศาสตร์



          วิทยาศาสตร์ หมายถึง ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ และกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ที่ใช้หาความรู้ทางวิทยาศาสตร์(พิพัฒธ์  เดชะคุปต์,2540 : 220-221) ดังนั้น การเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ที่แท้จริง ในปัจจุบันมิได้มุ่งเฉพาะเนื้อหาความรู้ที่ได้จากการค้นคว้า และเรียบเรียงไว้อย่างเป็นระเบียบ แต่หมายถึง กระบวนการแสวงหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ ด้วยการสอนวิทยาศาสตร์ที่ถูกต้อง ควรให้ผู้เรียนได้ใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ค้นคว้าหาความรู้ด้วยตนเอง เพื่อให้บรรลุเป้าหมายของการเรียนวิทยาศาสตร์ ดังที่ คลอฟเฟอร์ (Klopfer in Bloom 1971:566-580) ได้กำหนดพฤติกรรมของนักเรียน ซึ่งบรรลุวัตถุประสงค์การเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ไว้ 5 ประการ ดังนี้ คือ 
1.       มีความรู้ความเข้าใจ
2.       ใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์
3.       มีการนำความรู้ และวิธีการทางวิทยาศาสตร์ไปใช้
4.       มีเจตคติ และความเข้าใจ
5.       มีทักษะในการปฏิบัติ